แกะสลักผัก – ผลไม้ ภูมิปัญญาไทยอาศัยความคิดและความใจเย็น

การแกะสลักบนจานอาหาร มีมาแต่ตั้งสมัยอยุธยา “ถ้าสอนอย่างต่อเนื่อง งานแกะสลักผักผลไม้ จะไม่ได้อยู่แค่จัดการเรียนการสอนอย่างเดียว มันจะเข้าไปสู่งานอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย ทำยังไงให้ยั่งยืน ทำให้เด็กเห็นคุณค่าของมรดกทางภูมิปัญญาไทย ทำยังไงให้ไปต่อยอดที่เข้าไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตได้”  ข้างต้น คือคำพูดของครูผู้มีใจรักในงานแกะสลัก นางสาวนภากูล ธาตุ โรงเรียนบ้านช้างคับ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้สร้างชื่อเสียงและส่งนักเรียนเข้าแข่งขันแกะสลักจนได้รับรางวัลชนะเลิศมากมาย (อ้างอิงจาก มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี) ดังข้อความก็บอกให้เห็นเลยว่าการแกะสลักไม่ได้เป็นเพียงแค่การสอนเท่านั้น แต่มันเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ความเป็นไทยได้ด้วย แกะสลักเพื่ออะไร เมื่อสุดท้ายก็ต้องรับประทานอยู่ดี การแกะสลัก เป็นงานฝีมือที่มีรูปแบบเฉพาะที่ต้องมาพร้อมกับความตั้งใจ ความประณีต ความงดงาม ทั้งยังเป็นศิลปะที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน จนทำให้ทุกวันนี้การแกะสลักถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเลยล่ะค่ะ ซึ่งเรื่องราวของการแกะสลักในประเทศไทย ดำเนินเรื่องมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยาเรื่อยมา จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังคงมีศิลปะแขนงนี้ปรากฏให้เห็นอยู่ ที่สำคัญการแกะสลักไม่ได้เพียงแต่จะให้ความสวยงามเท่านั้น แต่การแกะสลักผัก ผลไม้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของคนทำ ทั้งยังช่วยสร้างคุณค่าด้านจิตใจ ฝึกฝนสมาธิ และช่วยให้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ควรค่าแก่การอุดหนุนอีกด้วย หลายคนคงสังเกตได้ง่าย ๆ หากมีผลไม้ 2 อย่างวางอยู่ใกล้กัน ราคาใกล้เคียงกัน ฝั่งหนึ่งเป็นผลไม้ธรรมดาที่อยู่ในถุงพลาสติก แต่อีกฝั่งหนึ่งเป็นผลไม้ที่ผ่านการแกะสลัก ถูกจัดอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม น่ารับประทาน หากเลือกได้คุณก็คงต้องการเลือกผลไม้ประเภทที่ 2 ใช่ไหมล่ะคะ? ดังนั้นแล้ว… Continue reading แกะสลักผัก – ผลไม้ ภูมิปัญญาไทยอาศัยความคิดและความใจเย็น

เครื่องเบญจรงค์ งานหัตถศิลป์ล้ำค่าเอกลักษณ์สะท้อนความเป็นไทย

‘เครื่องเบญจรงค์’ งานฝีมือสุดล้ำค่าผ่านความคิดและฝีมือคนไทย หากจะพูดถึงงานฝีมือที่ล้ำค่าและเป็นที่ภาคภูมิใจของคนไทย ‘เครื่องเบญจรงค์’ จะต้องเป็นสิ่งแรก ๆ ที่หลายคนกำลังนึกถึงอย่างแน่นอน ซึ่งเครื่องเบญจรงค์แต่ละชิ้นที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมานั้น เกิดขึ้นได้ด้วยความตั้งใจและด้วยฝีมือเชิงช่างด้านหัตถกรรมเบญจรงค์โดยเฉพาะ ที่สั่งสมกันมาจากรุ่นสู่รุ่นและยากที่จะเลียนแบบฝีมือกันได้ แต่เดิมเครื่องแบญจรงค์จะถูกนำไปใช้กันในงานสำคัญต่าง ๆ อาทิ งานในราชวัง การต้อนรับผู้มาเยือน ชนชั้นสูง ฯลฯ แต่ในปัจจุบันคนไทยได้มีการผลิตเครื่องเบญจรงค์สมัยใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น คนทุกระดับสามารถใช้ได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ลืมที่จะฝังความเป็นไทย รสนิยม และวิถีดั้งเดิมลงไป เพื่อให้เครื่องเบญจรงค์ยังคงความสวยงามที่สะท้อนความเป็นไทยได้ดีดังเดิม เรื่องเล่า…เครื่องเบญจรงค์ของคนไทย สำหรับในไทยเครื่องเบญจรงค์เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดยังไม่มีหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดนัก แต่จากหลักฐานอื่น ๆ บวกกับการสันนิษฐาน ขุดพบครั้งแรกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีลักษณะของลวดลาย สี คล้าย ๆ กับเครื่องถ้วยจีน (บางชิ้นมีเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงรัชกาล) เชื่อกันว่าในสมัยอยุธยาได้มีการสั่งทำเครื่องเบญจรงค์จากประเทศจีน โดยมีช่างไทยเป็นผู้ออกแบบลวดลายและเดินทางไปควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้รูปทรงตามความนิยมของคนไทย ในส่วนของภาชนะที่ได้มีการสั่งทำนั้นก็จะมีทั้ง จาน ชาม โถ ช้อน กระโถน ชุดถ้วยชา กาน้ำ ฯลฯ แต่เดิมจะใช้สีในการทำทั้งหมด 3 สี แต่ช่วงหลังมาก็ได้มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเป็น 5 สี ได้แก่ แดง,… Continue reading เครื่องเบญจรงค์ งานหัตถศิลป์ล้ำค่าเอกลักษณ์สะท้อนความเป็นไทย

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ศึกครั้งใหญ่ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์

ประวัติศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ถูกจารึกไว้ที่ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ “สุพรรณบุรี เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง” สวัสดีค่ะทุกคน..เปิดหัวมาด้วยคำขวัญแบบนี้คงเดาไม่ยากเลยนะคะว่านี่เป็นคำขวัญของจังหวัดอะไร ใช่แล้วล่ะค่ะ ที่คุณได้อ่านไปในตอนต้นคือคำขวัญของจังหวัดสุพรรณบุรี เมืองงามที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งที่นี่นอกจากจะมีอาหารการกิน ภาษาถิ่น และสถานที่เที่ยวให้คุณได้ไปสัมผัสมากมายแล้ว สุพรรณบุรี ยังเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย ว่าเคยเป็นดินแดนที่พระนเรศวรเคยสู้รบกับข้าศึก และคว้าชัยชนะให้กับปวงชนชาวไทย ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหนึ่งสถานที่ที่คนสุพรรณบุรีเคารพนับถือ นั่นคือ ‘พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์’ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ สถานที่สวยงามและทรงคุณค่า เราขอพาคุณย้อนไปในปี พ.ศ.2135 ในตอนนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างองค์เจดีย์ยุทธหัตถีเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี ระหว่างพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยากับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อวันเวลาผ่านไปจนกระทั่งปี พ.ศ.2456 เจดีย์แห่งนี้ก็ถูกพบอีกครั้ง โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และเชื่อว่าที่นี่น่าจะเป็นซากเจดีย์เก่ายุทธหัตถี ที่เหลือเพียงซากฐานสี่เหลี่ยมเท่านั้น ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรทำการบูรณะและเลือกเอาเจดีย์ยุทธหัตถีจังหวัดตาก (เจดีย์ที่สร้างเพื่อรำลึกถึงพ่อขุนรามคำแหงครั้งชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด) มาเป็นแบบอย่าง ต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อจอมพลป.พิบูลสงคราม (เป็นนายกรัฐมนตรี) ได้สร้างแบบเจดีย์ให้เป็นทรงลังกาที่ถอดรูปแบบมาจากวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่สันนิษฐานว่า เจดีย์ของที่นั่นสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะด้วยเช่นกัน ท้ายที่สุดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ก็เกิดขึ้น เมื่อในปี… Continue reading ย้อนรอยประวัติศาสตร์ศึกครั้งใหญ่ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์

ถ้วยก๋าไก่ไม่ไก่กา สัญลักษณ์ของชาวลำปางที่ช่วยสร้างรายได้

ถ้วยตราไก่ความภาคภูมิใจของชาวลำปาง จังหวัดลำปางถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดทางภาคเหนือที่เดิมทีเคยเป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรล้านนามาก่อน ซึ่งแน่นอนเลยว่าประวัติศาสตร์ของจังหวัดนี้ไม่ธรรมดา อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่เป็นที่รวมตัวของคนหลากหลายชาติพันธุ์ เมื่อมีความเป็นอยู่ที่ไม่เหมือนกัน จึงทำให้ที่นี่เต็มไปสิ่งล้ำค่ามากมายที่สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับจังหวัดได้เป็นอย่างดี ‘ถ้วยก๋าไก่’ หรือที่ใคร ๆ ก็รู้จักกันในชื่อถ้วยตราไก่ เป็นสัญลักษณ์เด่นของจังหวัด ซึ่งหากใครที่เคยเดินทางไปยังจังหวัดลำปาง ก็จะได้เห็นกับอนุสาวรีย์ชามตราไก่ขนาดใหญ่ตั้งต้อนรับอยู่ที่เกาะกลางถนน เป็นสัญญาณบอกแบบนัย ๆ ว่าขณะนี้คุณได้ก้าวสู่จังหวัดลำปางอย่างเต็มตัวแล้วนั่นเอง ถ้วยตราไก่ กับ Story การเดินทางที่ยาวนาน นอกจากรถม้าลำปางพร้อมด้วยคนสวมหมวกคาวบอยที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนี้แล้ว ถ้วยตราไก่ หรือถ้วยก๋าไก่นี่แหละค่ะ ที่ถือว่าเป็นไฮไลท์สำคัญของจังหวัดนี้ เป็นไฮไลท์เด่นขนาดไหนก็ดูได้จากตัวจังหวัด ที่ไม่ว่าคุณจะหันซ้ายหรือหันขวา คุณก็มักจะพบกับรูปถ้วยตราไก่ปรากฏอยู่เต็มไปหมด ทั้งในร้านอาหาร ร้านค้า สถานที่ท่องเที่ยว หรือแม้แต่ตรงจุดให้บริการรถโดยสารก็ยังมีเลยล่ะ ซึ่ง Story ของถ้วยตราไก่ก็ไม่เกิดขึ้นมาแบบส่ง ๆ แต่มันเกิดขึ้นมาจากความตั้งใจ โดยมีจุดเริ่มต้นแบบจริงจังในช่วงปี พ.ศ.2503 มีบ่อเกิดความคิดมาจากชาวจีน 2 คน คือ นายซิวกิม แซ่กวอก และนายซิมหยู แซ่ฉิน ที่แต่เดิมทั้งสองคนเคยทำงานในโรงงานถ้วยชามมาก่อน เมื่อเดินทางมาอยู่ในไทยก็เริ่มลงหลักปักฐานไปทำงานที่โรงงานเครื่องปั้นดินเผาในเชียงใหม่ โดยโรงงานนี้ก็จะผลิตเครื่องปั้นดินเผาทั่ว ๆ ไป คือโอ่งและกระถางต้นไม้ แต่เจ้าของโรงงานต้องการที่จะผลิตถ้วยแบบจีน (ตอนนั้นจีนปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ ทำให้สินค้าเข้าไทยน้อยและมีราคาแพงมาก)… Continue reading ถ้วยก๋าไก่ไม่ไก่กา สัญลักษณ์ของชาวลำปางที่ช่วยสร้างรายได้

ทำไมต่างชาติต้องแห่เหมา ‘ผ้าไหมไทย’ ทุกครั้งที่มาเยือน

ผ้าไหมไทย สินค้าขึ้นชื่อที่คนในประเทศภูมิใจ เมืองไทยมีดีมากมาย เพราะไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอาหารการกิน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ หรือสถานที่ท่องเที่ยว ก็มักทำให้ชาวต่างชาติที่ได้มาเยือนต่างติดอกติดใจจนอยากมาซ้ำอีกหลาย ๆ หน ซึ่งถึงแม้ว่าในตอนนี้ประเทศไทยของเราจะยังคงต้องพบกับวิกฤตโควิด-19 อยู่ แต่เชื่อได้เลยว่าอีกไม่นาน หากอะไร ๆ ดีขึ้น การท่องเที่ยวไทยจะต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน ย้อนไปก่อนหน้านี้ในช่วงที่ประเทศไทยฮ็อตมากสำหรับต่างชาติ ในตอนนั้นนอกจากต่างชาติจะเหมาอาหารไทยกลับไปเยอะแยะแล้ว สินค้าไทยหรือของฝากนี่แหละ ที่ชาวต่างชาติต่างเหมากลับบ้านกันแบบจุก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ผ้าไหมไทย’ ที่คนไทยที่เห็นมาตั้งแต่เด็ก ๆ ยังหลงใหลในความสวยงาม และคงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมต่างชาติถึงเหมาผ้าไหมไทยกลับบ้านด้วยเช่นกัน ผ้าไหมไทย กับความตั้งใจของคนไทยในอดีต เรื่องราวของผ้าไหมมีหลักฐานที่ยาวนานมากกว่า 4,700 กว่าปีก่อน พบครั้งแรกที่ประเทศจีนที่ถูกกล่าวอยู่ในหนังสือจีนโบราณชื่อว่า ‘ไคเภ็ก’ ได้มีการพูดถึงราชวงศ์จีนว่าพระนางหนึ่งเป็นผู้ริเริ่มการทอผ้าจากเส้นใยไหม ในส่วนของประเทศไทยนั้นมีการพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องมีความเก่าแก่ที่สุดประมาณ 3,000 กว่าปี พบครั้งแรกเป็นเศษผ้าไหมตรงบริเวณวัฒนธรรมบ้านเชียง บ้านนาดี อำเภอหนองหาญ จังหวัดอุดรธานี (มีพื้นที่อื่น ๆ ในภาคอีสานด้วย) จากการสันนิษฐานคาดว่า มีการเลี้ยงตัวไหมและนำมาทอเป็นผ้าไหม เพื่อใช้ในการทำเครื่องนุ่งห่ม หรือใช้พิธีสำคัญต่าง ๆ ในส่วนของภาคอื่น ๆ ก็มีการกล่าวถึงการถักทอผ้าไหมในพงศาวดารด้วยเช่นกัน นับแต่นั้นมาผ้าไหมไทยก็กลายเป็นที่รู้จักของคนทั้งในประเทศและต่างประเทศ… Continue reading ทำไมต่างชาติต้องแห่เหมา ‘ผ้าไหมไทย’ ทุกครั้งที่มาเยือน

ผักตบชวาจากพืชไร้ค่า สู่รายได้หลักที่ยั่งยืนของคนไทย

ผักตบชวากลายมาเป็นรายได้ของคนไทยได้อย่างไร คนไทยเป็นคนที่มีฝีมือในเรื่องต่าง ๆ ไม่แพ้คนชาติใดในโลก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำอาหาร การร่ายรำ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ กระทั่งการสร้างรายได้ หากคนไทยมีความตั้งใจและความมุ่งมั่น ก็มักทำออกมาให้กลายเป็นความสำเร็จสูงสุดได้เสมอ อย่างพืชชนิดหนึ่งที่มองดูเผิน ๆ อาจสร้างความรำคานสายตา เพราะมันมักลอยอยู่เหนือน้ำตามลำคลอง อีกทั้งหากไม่มีการกำจัดหรือตักออก ก็มักส่งกลิ่นที่เหม็นเน่า และเป็นที่กักกันของขยะในแม่น้ำได้อีก ซึ่งพืชที่เรากำลังพูดถึงนั่นคือ ‘ผักตบชวา’ แต่คนไทยก็พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสอยู่เสมอ เพราะปัจจุบันผักตบชวา ได้กลายมาเป็นไอเทมสำคัญที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อย่างยอดเยี่ยมเลยล่ะ ผักตบชวาอดีตสร้างปัญหา ปัจจุบันสร้างรายได้ได้อย่างไร สำหรับผักตบชวาจะมีชื่อเรียกอื่น ๆ ตามจังหวัดด้วยนะ อย่างจังหวัดสุพรรณบุรีจะเรียกมันว่า ผักป่อง จังหวัดอ่างทองจะเรียกกันว่าผักปอด ส่วนจังหวัดนครราชสีมาจะเรียกว่าผักปง แต่เอาเป็นว่าเรียกกันแบบกลาง ๆ ว่าผักตบชวาน่าจะเข้าใจเหมือนกันมากกว่า ซึ่งผักตบชวาถูกจัดให้เป็นวัชพืชอันตรายอันดับ 8 ของโลก แต่เดิมมันถูกนำเข้ามาเพื่อใช้ตกแต่งแม่น้ำลำคลองให้สวยงามเท่านั้น แต่ทว่าด้วยความที่มันเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ไว จึงทำให้มันมีปริมาณที่เยอะจนเกินไป ขยายไปทั่วทุกอาณาเขตอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญในอดีตมันยังถือว่าเป็นศัตรูร้ายของคนโบราณที่ต้องใช้แม่น้ำในการสัญจรไปมาอีกด้วย (เมื่อก่อนใครมีผักตบในครอบครองถือว่าผิดกฎหมายด้วยนะ)   นอกจากนี้ผักตบชวายังทำลายระบบนิเวศน์ใต้น้ำ แล้วก็ยังเป็นที่หลบซ่อนของสัตว์มีพิษต่าง ๆ อีกด้วยนะ แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงความทรงใจในอดีตเท่านั้น เพราะปัจจุบันชุมชนต่าง ๆ ในประเทศไทย ได้เริ่มมีการนำผักตบชวามาแปรรูป เพื่อส่งต่อเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ… Continue reading ผักตบชวาจากพืชไร้ค่า สู่รายได้หลักที่ยั่งยืนของคนไทย