ฮีทสโตรก ภัยร้ายหน้าร้อน ไม่ระวังอาจอันตรายถึงชีวิต

ฮีทสโตรกอันตราย ทำความเข้าใจไว้ก่อนสาย

เชื่อเลยว่าทุกคนต่างรู้ดีว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อน โดยเฉพาะเมื่อเข้าช่วงซัมเมอร์ด้วยแล้วเหมือนความร้อนระอุจะยิ่งทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ ซึ่งความร้อนนอกจากจะทำให้ผิวคล้ำเสีย ผิวกายเหนอะหนะ มีกลิ่นตัว และสร้างความหงุดหงิดให้กับคนได้แล้ว โรคหน้าร้อนเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องพึงระวัง

ซึ่งนอกจากอันตรายจากการรับประทานอาหารแล้ว การที่ร่างกายได้รับความร้อนมากจนเกินไป หรือร่างกายระบายอากาศได้ไม่ดีก็เป็นอีกสิ่งที่ทุกคนต้องระวัง เพราะบางครั้งนั่นอาจไม่ได้สร้างแค่ความไม่สบายตัวเท่านั้น แต่อุณหภูมิที่สูงเกินไปยังทำให้คนหมดสติ หรือเรียกอีกอย่างว่าฮีทสโตรก (โรคลมแดด) ที่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้อีกด้วย

ฮีทสโตรก (Heatstroke) คืออะไร?

ฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด คืออันตรายที่พบได้ในชีวิตประจำวัน แต่ส่วนใหญ่มักพบในช่วงหน้าร้อนมากกว่า เนื่องจากในช่วงหน้าร้อนจะมีสภาพอากาศที่ร้อนมากกว่าปกติ จนทำให้ความร้อนในร่างกาย (core temperature) สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จนทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถควบคุมความร้อนในร่างกายของตัวเองได้ อาการเบื้องต้นที่เกิดขึ้น ได้แก่ ปวดศีรษะ หน้ามืด เพ้อ ชัก เริ่มไม่รู้สึก หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวัด ช็อก เป็นลมหมดสติ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการนาน ๆ หรือร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้มากกว่า 2 ชั่วโมง อาจส่งผลกระทบรุนแรงไปถึงหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ ที่หากไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างทันเวลาและถูกต้อง อาจทำให้มีอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้!

โรคฮีทสโตรก

โดยบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคฮีทสโตรก ได้แก่ ทหารที่เข้ารับการฝึกโดยปราศจากการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อม ก่อนเข้ารับการฝึกท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อน รวมไปถึงบรรดานักกีฬาสมัครเล่นและผู้ที่ต้องทำงานท่ามกลางสภาพอากาศร้อนชื้น นอกจากนี้แล้วยังมีคนกลุ่มเสี่ยง ดังนี้

  1. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่ากับคนวัยหนุ่มสาว
  2. ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน
  3. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์หรือกลุ่มคนอ้วน
  4. ผู้ที่ไม่พักผ่อนเพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้ง่าย
  5. กลุ่มคนที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน เช่น ออกกำลังกาย นักกีฬากอล์ฟ เกษตรกร กรรมกร และผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งอื่น ๆ
  6. คนที่ทำงานออฟฟิศและนั่งอยู่ในห้องแอร์เป็นเวลานาน เมื่อออกมาเจอกับแสงแดดและสภาพอากาศที่ร้อนจัด อาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันได้เช่นกัน
  7. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากกว่าคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ดื่ม ที่สำคัญในสภาพอากาศที่ร้อนจัดจะทำให้แอลกอฮอล์เข้าไปกระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น จนทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนัก จนอาจถึงขั้นช็อกและเสียชีวิตได้

ป้องกันตัวเองจากฮีทสโตรก ทำอย่างไร?

  1. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือการอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด
  2. สวมใส่เสื้อผ้าที่มีโปร่งโล่งสบาย ไม่หนา น้ำหนักเบา เพื่อช่วยป้องกันความร้อนและระบายอากาศ
  3. จิบน้ำบ่อย ๆ อย่างน้อย 6 – 8 แก้วต่อวัน และแม้จะไม่กระหายน้ำแต่จำเป็นต้องดื่มเพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิในร่างกาย
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
  5. อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง เนื่องจากความร้อนภายในรถจะเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงมาก
  6. เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนและไม่ควรอยู่ตามลำพัง
  7. สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย แนะนำออกกำลังกายในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก และควรเลือกออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก
  8. ผู้ที่มีโรคประจำตัวหากมีอาการผิดปกติ หรืออาการที่บ่งบอกตามข้างต้น ให้รีบพบแพทย์โดยทันที

ซึ่งปัจจุบันภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้คนล้มป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น เพราะอุณหภูมิในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้นมากเรื่อย ๆ ทำให้อากาศในแต่ละปีร้อนจัด ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อโรคเจ็บป่วยต่าง ๆ ทุกคนจำเป็นต้องรักษาอุณหภูมมิในร่างกายให้พอดี หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น ยืนตากแดด ทำงานกลางแจ้ง (หากมีความจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน) เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้อย่าลืมเลือกทำประกันสุขภาพเอาไว้ หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินใด ๆ ขึ้นมา จะได้มีทุนสำรองเพียงพอต่อการรักษา

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *