‘เครื่องเบญจรงค์’ งานฝีมือสุดล้ำค่าผ่านความคิดและฝีมือคนไทย
หากจะพูดถึงงานฝีมือที่ล้ำค่าและเป็นที่ภาคภูมิใจของคนไทย ‘เครื่องเบญจรงค์’ จะต้องเป็นสิ่งแรก ๆ ที่หลายคนกำลังนึกถึงอย่างแน่นอน ซึ่งเครื่องเบญจรงค์แต่ละชิ้นที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมานั้น เกิดขึ้นได้ด้วยความตั้งใจและด้วยฝีมือเชิงช่างด้านหัตถกรรมเบญจรงค์โดยเฉพาะ ที่สั่งสมกันมาจากรุ่นสู่รุ่นและยากที่จะเลียนแบบฝีมือกันได้
แต่เดิมเครื่องแบญจรงค์จะถูกนำไปใช้กันในงานสำคัญต่าง ๆ อาทิ งานในราชวัง การต้อนรับผู้มาเยือน ชนชั้นสูง ฯลฯ แต่ในปัจจุบันคนไทยได้มีการผลิตเครื่องเบญจรงค์สมัยใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น คนทุกระดับสามารถใช้ได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ลืมที่จะฝังความเป็นไทย รสนิยม และวิถีดั้งเดิมลงไป เพื่อให้เครื่องเบญจรงค์ยังคงความสวยงามที่สะท้อนความเป็นไทยได้ดีดังเดิม

เรื่องเล่า…เครื่องเบญจรงค์ของคนไทย
สำหรับในไทยเครื่องเบญจรงค์เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดยังไม่มีหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดนัก แต่จากหลักฐานอื่น ๆ บวกกับการสันนิษฐาน ขุดพบครั้งแรกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีลักษณะของลวดลาย สี คล้าย ๆ กับเครื่องถ้วยจีน (บางชิ้นมีเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงรัชกาล) เชื่อกันว่าในสมัยอยุธยาได้มีการสั่งทำเครื่องเบญจรงค์จากประเทศจีน โดยมีช่างไทยเป็นผู้ออกแบบลวดลายและเดินทางไปควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้รูปทรงตามความนิยมของคนไทย

ในส่วนของภาชนะที่ได้มีการสั่งทำนั้นก็จะมีทั้ง จาน ชาม โถ ช้อน กระโถน ชุดถ้วยชา กาน้ำ ฯลฯ แต่เดิมจะใช้สีในการทำทั้งหมด 3 สี แต่ช่วงหลังมาก็ได้มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเป็น 5 สี ได้แก่ แดง, เหลือง, ขาว, ดำ, เขียว(คราม) นั่นจึงได้กลายเป็นที่มาของคำว่า ‘เบญจรงค์’ แต่อาจมีการใช้สีอื่นลงไปบ้างเล็กน้อยตามความเหมาะสมของลวดลาย
และเครื่องถ้วยที่มีการลงสีพื้นเพื่อเตรียมสำหรับการลงลวดลายนั้น จะเป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภทเซรามิก ที่ใช้เนื้อดินประเภทพอร์ซเลนเนื้อขาวในการทำ เพราะมีคุณสมบัติโปร่งแสง ไม่ดูดซึมน้ำ เมื่อเคาะจะมีเสียงที่กังวาน นอกจากนี้ก็ยังเลือกใช้ดินประเภทอื่น ๆ ที่เป็น ‘เครื่องขาว’ เพราะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งยังง่ายต่อการขึ้นรูปนั่นเองค่ะ

และจากหลักฐานหลาย ๆ อย่าง อ้างว่าเครื่องเบญจรงค์เป็นสิ่งล้ำค่า ที่นิยมใช้กันในราชวัง วังเจ้านาย หรือบ้านขุนนางชั้นสูงเท่านั้น นอกจากนี้ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ยังได้เกิดความนิยมของถ้วยอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า ‘ถ้วยลายน้ำทอง’ ที่นับว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภทเดียวกันกับเครื่องเบญจรงค์ เพียงแต่จะใช้สีทองแต่งแต้มลงไป หรือตัดเส้นสีทอง เพื่อเพิ่มความมีมิติให้กับผลงาน
ลายยอดนิยมของเครื่องเครื่องเบญจรงค์
ถึงแม้ว่าในช่วงรัชกาลที่ 5 จะได้มีการนำเข้าเครื่องเบญจรงค์ญี่ปุ่นและส่งมาขายในประเทศไทย แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เป็นที่แพร่หลายมากนัก จึงมีการจำหน่ายในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น กลับกันเครื่องเบญจรงค์ของไทยกลับได้รับความนิยมดังเดิม คนไทยเริ่มมีการออกแบบ เขียนแบบ และผลิตขึ้นเอง ซึ่งนั่นนอกจากจะทำให้ต้นทุนถูกลงกว่าเดิมแล้ว ลวดลายต่าง ๆ ก็ยังสะท้อนความเป็นไทยได้มากกว่าการให้ต่างชาติผลิตอีกด้วย

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเครื่องเบญจรงค์ลวดลายใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ลายที่ถือว่าเป็นลายยอดฮิต ใครเห็นก็ต่างพากันหลงใหล ก็ได้แก่ ลายเทพพนมนรสิงห์ ลายบัวเจ็ดสี ลายประจำยาม ลายเบญจมาศ ลายวิชาเยนท์ ฯลฯ ที่นับว่าเป็นลายโบราณ แต่ยังคงได้รับความนิยม และเป็นที่ต้องการของนักสะสมทั้งหลายอยู่ดังเดิม
อีกทั้งทุกวันนี้ยังได้มีการใช้โทนสีในการทำเครื่องเบญจรงค์มากกว่า 5 สี แต่ทั้งนี้ก็ยังยึดเอา 5 สีหลักแฝงอยู่ในลวดลายเสมอ และที่สำคัญเครื่องเบญจรงค์ก็ไม่เพียงแต่จะไว้ใช้สำหรับงานเลี้ยงต้อนรับเท่านั้น แต่มันยังกลายเป็นของฝาก ของขึ้นชื่อ และเอกลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นไทยได้ดีเชียวล่ะ

หากใครที่เป็นนักสะสมเครื่องเบญจรงค์ก็คงทราบกันดีว่าเครื่องเบญจรงค์ยิ่งลายประณีตเท่าไหร่ หากยากมากแค่ไหน ราคาของมันก็สูงมากเท่านั้น ฉะนั้นหากไม่อยากพลาดก็อย่าแวะไปที่เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ คุณจะได้มีงบเพียงพอเพื่อเป็นเจ้าของสิ่งล้ำค่าเหล่านี้นะคะ